Reduced Inequalities

ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยมหิดลสนับสนุนความเท่าเทียมกันของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาและทำงานอย่างเท่าเทียม นักศึกษาสามารถแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศสภาวะ ที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด ในเวลาที่มีการเรียนการสอน รวมถึงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรพิธีรับอนุปริญญาบัตร ได้ตาม " ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเรื่องเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 " มหาวิทยาลัยไม่จำกัดโอกาสการเข้าถึงการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ หรือผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทยสามารถเข้ามาศึกษาต่อได้ตาม “ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้มิได้มีสัญชาติไทย พ.ศ. 2560 ” รวมถึง ไร้สัญชาติ ที่ในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาไร้สัญชาติ จำนวน 9 ราย และผู้พิการทางกายภาพก็สามารถเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนนักศึกษาผู้พิการทางกายภาพให้สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป เช่น หลักสูตรของวิทยาลัยราชสุดา ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางกายภาพในประชาคมอาเซียน มีหลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอกสำหรับผู้พิการทางกายภาพมีงานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและบริการนักศึกษาผู้พิการทางกายภาพ เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างโอกาสทางการประกอบอาชีพสู่การเป็นผู้ประกอบการต่อไป มหาวิทยาลัยยังมีหน่วยบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาผู้พิการทางกายภาพ ที่มีหน้าที่จัดรูปแบบการเรียนการสอน อำนวยความสะดวกในการสอบ รวมทั้งจัดหาบริการสื่อด้านการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น บริการผลิตสื่ออักษรเบรลล์ให้ผู้พิการทางสายตา รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดแทนเมาส์ โปรแกรมขยายจอภาพ ทางลาดพกพา ทางมหาวิทยาลัยยังจัดสรรสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น แผนที่แสดงจุดจอดรถผู้พิการ ลิฟท์บันไดสำหรับรถเข็นวีลแชร์ หอพักผู้พิการ เตียงนอนผู้พิการรวมถึงทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาผู้พิการทางกายภาพอย่างไม่จำกัดจำนวน มหาวิทยาลัยยังได้สร้างจิตสำนึกตามหลักธรรมภิบาล ในทุกระบบการบริหารให้เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ และปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัย สำหรับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญหรือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย จะต้องดำเนินการผ่านเวทีการประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญ กับสิทธิในการแสดงออกทางความคิดที่หลากหลายของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

Highlights
  • thumb
    17 03 10
    11 มี.ค. 2565
    THE PRINCE MAHIDOL AWARD CONFERENCE (PMAC) 2018
    มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯในพระบรม ราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์กรภาคีในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประจำปี 2561
  • thumb
    05 10
    11 มี.ค. 2565
    ถอดบทเรียนการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย
    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการสัมมนาถอดบทเรียนการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย
  • thumb
    16 05 10
    11 มี.ค. 2565
    การศึกษาระดับโลกแห่งสหประชาชาติเรื่องเด็กที่ขาดเสรีภาพ
    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Global Campus of Human Rights และ Right Livelihood Foundation จัดเวทีอภิปรายเรื่อง “การนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่วาระแห่งชาติ: การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก”
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การบริการสุขภาพสู่ชุมชน
    คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีการบริการกับประชาชนในกลุ่มติดเตียง กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดสังคม รอบมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประจำทุกเดือน ในชุมชนหมู่บ้านสหพร ชุมชนคลองโยง และชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ในปี 2561 ได้ขยายการให้บริการเพิ่มเติมไปยังชุมชนนราภิรมย์ โดยมีประเภทการให้บริการ
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    คลินิกวัยทีน
    มหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งคลินิกวัยทีน เพื่อเปิดให้บริการแก่วัยรุ่นและครอบครัว รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในด้านการเรียน ความสัมพันธ์ การปรับตัว อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีทักษะชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยบริการ ตรวจวินิจฉัย ประเมิน ให้คำปรึกษา ส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากด้านร่างกาย จิตใจ สังคมของวัยรุ่น ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ความร่วมมือกับกองกิจการนักศึกษา ผ่านโครงการ “Mahidol Friends Project”
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    จักก้าเซ็นเตอร์
    มหาวิทยาลัยมหิดลมีจักรยานสาธารณะของมหาวิทยาลัยเตรียมไว้บริการแก่นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ ซึ่งทุกคนเรียกว่า “White JAKKA” โดยชาวมหิดลสามารถใช้จักรยานสีขาวได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ยานพาหนะที่ไม่ก่อมลพิษภายในมหาวิทยาลัย โดยในปี 2554 ได้ก่อตั้ง “จักก้าเซ็นเตอร์” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการยืม/คืนจักรยาน รวมทั้งบริการซ่อมจักรยาน
  • thumb
    03 01 10
    11 มี.ค. 2565
    บางกอกน้อยโมเดล
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการบางกอกน้อยโมเดล โดยโรงพยาบาลศิริราชร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่รอบโรงพยาบาล
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ในการดำเนินโครงการโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น)
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    โครงการศิริราชเพื่อสังคม ศูนย์อาสาสมัครศิริราช
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม ที่ต้องเกิดการปลูกฝังความรู้สึกของการเป็นผู้ให้ ไปยังบุคลากรภายในและคนในสังคม จึงจัดตั้ง “ศูนย์อาสาสมัครศิริราช”
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนและองค์กรท้องถิ่นโดยเน้นที่ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
  • thumb
    01 04 10
    11 มี.ค. 2565
    ขจัดความยากจน
    มหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนด้านทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี หรือมีเหตุฉุกเฉิน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา โดยมีแหล่งทุนการศึกษาต่างๆ
จำนวนทั้งหมด 16 รายการ