Responsible Consumption And Production

สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายบริหารจัดการขยะ และสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับการรับรองฉลากมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อลดของเสียที่เกิดจากปลายทางให้มากที่สุด จึงได้ดำเนินโครงการ Mahidol No Plastic ซึ่งช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกในระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2563 ได้มากถึง 8,645,604 ใบ และปริมาณขวดพลาสติก 216,875 ขวดในปี พ.ศ. 2563 จากการใช้ตู้กดน้ำ เป็นการลดการใช้พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล และธนาคาร ทิ้ง ไซเคิล ที่สามารถเปลี่ยนขยะให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เพื่อช่วยปรับแนวคิดและพฤติกรรมในการคัดแยกขยะให้แก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ซึ่งส่งผลให้สภาพภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยดีขึ้น ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ และการเพิ่มมูลค่าขยะด้วยโครงการ We Turn ที่ผลิตเสื้อโปโลจากขวดพลาสติก ที่ดำเนินการผลิตไปแล้ว 400 ตัวจากขวดพลาสติก 8,000 ขวด ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบที่ทำได้จริง และไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ในภาคประชาคม ได้มีการดำเนินโครงการ Mahidol Eco Town ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนจากการนำโมเดลโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลไปขยายต่อและให้ความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้เยาวชน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 33 โรงเรียน จากจำนวนเครือข่ายโรงเรียน แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นที่ยอมรับและเกิดการขยายเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืชด้วยระบบกองเติมอากาศที่ทดแทนการเผาทำลายที่ได้รับมาตราฐานเกษตรอินทรีย์ โดยผลิตไปแล้ว 323,910 กิโลกรัม รวมถึงการผลิตน้ำหมักชีวภาพที่ช่วยบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น ทำให้ลดต้นทุนการดูแลรักษาและสร้างรายได้จากการจำหน่ายได้ และยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทางมหาวิทยาลัยตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเสมอจึงมีการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่ได้มาตรฐานตามกรมควบคุมมลพิษก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และมีการใช้น้ำรีไซเคิลแทนในปริมาณ 7,266 ลูกบาศก์เมตร ที่นำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างรถบัส เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาได้สร้างระบบจัดการของเสียและการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบและการผลิตอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    12 09 13
    11 มี.ค. 2565
    ปุ๋ยหมักอินทรีย์
    โครงการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ เกิดขึ้นตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว เมื่อปี 2552 เพื่อการขยะใบไม้ กิ่งไม้ นำกลับมาทำประโยชน์อีกครั้ง โดยทำปุ๋ยหมักไว้สำหรับใช้ในมหาวิทยาลัย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    น้ำหมักชีวภาพ
    น้ำหมักชีวภาพ (E.M.) โดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    07 12 13
    11 มี.ค. 2565
    ไบโอดีเซล
    โครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2560 เหตุผลของการสร้างสถานีน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว บริเวณอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล เพราะเป็นพื้นที่ส่วนกลางของหาวิทยาลัยที่มีศูนย์อาหารกลางที่สามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้มากกว่าหนึ่งพันคน ทำให้ศูนย์อาหารแห่งนี้เกิดน้ำมันใช้แล้วจากการทอดซ้ำเป็นจำนวนมาก
  • thumb
    07 12 13
    11 มี.ค. 2565
    MU LIGHT OUT
    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจากอธิการบดีและคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย มาร่วมพิธีเปิดโครงการ MU Light Out ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักในการลดใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีมาตรการให้ปิดไฟในจุดที่ไม่จำเป็นหรือพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 12.00-13.00 น. ในวันพุธที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน
  • thumb
    12 11 13
    11 มี.ค. 2565
    การบริหารจัดการขยะ
    นโยบายด้านการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดขอบเขตการจัดการขยะ ออกเป็น 5 ประเภท
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    SOLAR ENERGY
    Solar energy has the least negative impact on the environment compared to any other energy source. It does not produce greenhouse gases. Solar cells harness from sunlight and transform into usable electricity. To promote efficient and sustainable use of renewable energy.
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    พื้นที่ชุ่มน้ำ
    พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่สำคัญอันเป็นแหล่งผลิตอาหารและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนมากกว่าระบบนิเวศอื่น ๆ
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    Land Use Development
    The development concepts according to the Landscape Master Plan 2008 will establish Mahidol University to the university of dreams, there are a conducive learning environment, physical characteristics that respond harmoniously to social and environmental conditions. The university are like a second home and the spiritual center of all Mahidol people. Physical, social and environmental components are an important element to create “A Promise Place to Live and Learn Together with Nature”
จำนวนทั้งหมด 21 รายการ