Climate Action

ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงกำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่เกิดมลพิษน้อยที่สุด ด้วยโครงการ 9 to Zero โดยริเริ่มจากการเพิ่มพลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ Solar Rooftop ที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อเกิดมลพิษ รวมไปถึงการใช้รถรางไฟฟ้า และจักรยานภายในมหาวิทยาลัย การใช้พลังงานชีวภาพจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มีการวางแผนเพิ่มสถานีชาร์จแบตรถ EV ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการด้านฝุ่นละออง ด้วยการสร้างนวัตกรรม PM 2.5 Footprint Calculator คำนวณผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละออง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีโปรแกรม MU Carbon Footprint ที่เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้ประเมินและกำหนดแนวทางในการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 5,851.44 ตัน ในวิทยาเขตศาลายา โดยมีส่วนงานต่าง ๆ ได้นำไปปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลคาร์บอนต่ำของคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ได้นำมาข้อมูลจาก Carbon Footprint มาบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเพราะว่ามีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้แทนและยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และในปี พ.ศ. 2565 โครงการรวมพลคนวัดต้นไม้เพื่อเก็บข้อมูลการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีต้นไม้ในพื้นที่วิทยาเขตศาลายารวม 13,640 ต้น ที่สามารถดูดกลับคาร์บอนได้มากถึง 6,523.20 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จากโครงการพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง พบว่าเพิ่มขึ้น 5.92 เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่สีเขียวทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และ พื้นที่ MU Eco Park ที่เพิ่มการปลูกต้นไม้เพื่อลดความร้อนในพื้นที่ ช่วยเพิ่มความสวยงาม และส่งผลให้เกิดอัตราการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงมากขึ้น ในส่วนของโครงการ Eco Town ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางพีทีทีในการขยายความรู้เรื่องการจัดการขยะรีไซเคิลทดแทนการเผาทำลายยังเป็นเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ จากโครงการและกิจกรรม ที่ดำเนินการมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและเตรียมพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    12 09 13
    11 มี.ค. 2565
    ปุ๋ยหมักอินทรีย์
    โครงการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ เกิดขึ้นตามแนวนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว เมื่อปี 2552 เพื่อการขยะใบไม้ กิ่งไม้ นำกลับมาทำประโยชน์อีกครั้ง โดยทำปุ๋ยหมักไว้สำหรับใช้ในมหาวิทยาลัย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    น้ำหมักชีวภาพ
    น้ำหมักชีวภาพ (E.M.) โดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    07 12 13
    11 มี.ค. 2565
    ไบโอดีเซล
    โครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2560 เหตุผลของการสร้างสถานีน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว บริเวณอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล เพราะเป็นพื้นที่ส่วนกลางของหาวิทยาลัยที่มีศูนย์อาหารกลางที่สามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้มากกว่าหนึ่งพันคน ทำให้ศูนย์อาหารแห่งนี้เกิดน้ำมันใช้แล้วจากการทอดซ้ำเป็นจำนวนมาก
  • thumb
    07 12 13
    11 มี.ค. 2565
    MU LIGHT OUT
    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจากอธิการบดีและคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย มาร่วมพิธีเปิดโครงการ MU Light Out ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักในการลดใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีมาตรการให้ปิดไฟในจุดที่ไม่จำเป็นหรือพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 12.00-13.00 น. ในวันพุธที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน
  • thumb
    12 11 13
    11 มี.ค. 2565
    การบริหารจัดการขยะ
    นโยบายด้านการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดขอบเขตการจัดการขยะ ออกเป็น 5 ประเภท
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    SOLAR ENERGY
    Solar energy has the least negative impact on the environment compared to any other energy source. It does not produce greenhouse gases. Solar cells harness from sunlight and transform into usable electricity. To promote efficient and sustainable use of renewable energy.
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    พื้นที่ชุ่มน้ำ
    พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่สำคัญอันเป็นแหล่งผลิตอาหารและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนมากกว่าระบบนิเวศอื่น ๆ
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    Land Use Development
    The development concepts according to the Landscape Master Plan 2008 will establish Mahidol University to the university of dreams, there are a conducive learning environment, physical characteristics that respond harmoniously to social and environmental conditions. The university are like a second home and the spiritual center of all Mahidol people. Physical, social and environmental components are an important element to create “A Promise Place to Live and Learn Together with Nature”
จำนวนทั้งหมด 23 รายการ