Peace,Justice and Strong Institutions

ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพในสังคมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักที่มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพ ได้จัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและ สันติศึกษาในปี พ.ศ. 2541 ในฐานะสถาบันวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนและบรรจุรายวิชาแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาได้เลือกเรียนในหมวดวิชาทั่วไป มีการผลิตผลงานวิชาการ และจัดโครงการอบรมต่าง ๆ ให้กับ บุคลากรด้านสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมาชิกองค์กรภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในปี พ.ศ 2547 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกอย่างสันติให้กับความขัดแย้งต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่เผชิญกับความรุนแรงยืดเยื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือกันของทุกฝ่ายเพื่อรับมือความขัดแย้ง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมโดยการเปิดพื้นที่การเสวนาในทุกระดับ เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน โดยการนำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะมาดำเนินการเป็นโครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมในรูปแบบโครงการภาคสนามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้เรื่องสุขภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยร่วมกับบุคลากรทางศาสนา อาสาสมัครทางการแพทย์ และสาธารณสุขมาช่วยขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความเข้าใจและปรองดอง ผลจากการดำเนินงานสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อนสนิท (Buddy) ระหว่างผู้นำสองศาสนาทำงานร่วมกันในพื้นที่ทั้งหมด 12 คู่ ในพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์มากกว่า 38 แห่ง มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความปรองดองในสังคมและรายงานวิธีการจัดการกระบวนการเชิงลึก 3 ภาษา จัดทำหนังสือเรื่องเล่าเพื่อนรักต่างศาสนาเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ชุมชนสามจังหวัดชายแดนใต้ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ รวมไปถึงสร้างเพจ Interfaith Buddy for Peace เพื่อสื่อสารกิจกรรมและรณรงค์เรื่องการสร้างความปรองดองในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังให้ความสำคัญกับสิทธิเด็ก โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทำการวิจัยเรื่องผลกระทบของการชกมวยต่อสมองของนักมวยเด็ก และได้นำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติมวยไทย 2561 โดยห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ในกรณีเด็กอายุระหว่าง 12-14 ปี จะต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนเข้าร่วมการแข่งขันใด และมีโครงการขยายผลพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้นำเสนอผลการวิจัยและข้อมูลสถิติ นำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อลดอัตราการตายของเด็กได้ 4 นโยบาย จาก 3 ประเด่นที่ค้นพบ ดังนี้ 1. นโยบายการลดการตายของเด็กเล็กจากการโดยสารรถยนต์ นำไปสู่กฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัย (Car Seat) สำหรับเด็กเล็ก ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) 2. นโยบายลดการตายจากการขับขี่ก่อนวัยของวัยรุ่นก่อน 15 ปี 3. นโยบายอัตราการตายจากการจมน้ำในเด็ก ต้องน้อยกว่า 2/100000 คน 4. นโยบายจากการพิเคราะห์เหตุการตาย สู่การป้องกันการตายของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

Highlights
  • thumb
    16 05 10
    11 มี.ค. 2565
    การศึกษาระดับโลกแห่งสหประชาชาติเรื่องเด็กที่ขาดเสรีภาพ
    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Global Campus of Human Rights และ Right Livelihood Foundation จัดเวทีอภิปรายเรื่อง “การนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่วาระแห่งชาติ: การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก”
  • thumb
    16 03 05
    4 มี.ค. 2565
    เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นําถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การบริการสุขภาพสู่ชุมชน
    คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีการบริการกับประชาชนในกลุ่มติดเตียง กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดสังคม รอบมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประจำทุกเดือน ในชุมชนหมู่บ้านสหพร ชุมชนคลองโยง และชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ในปี 2561 ได้ขยายการให้บริการเพิ่มเติมไปยังชุมชนนราภิรมย์ โดยมีประเภทการให้บริการ
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    คลินิกวัยทีน
    มหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งคลินิกวัยทีน เพื่อเปิดให้บริการแก่วัยรุ่นและครอบครัว รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในด้านการเรียน ความสัมพันธ์ การปรับตัว อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีทักษะชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยบริการ ตรวจวินิจฉัย ประเมิน ให้คำปรึกษา ส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากด้านร่างกาย จิตใจ สังคมของวัยรุ่น ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ความร่วมมือกับกองกิจการนักศึกษา ผ่านโครงการ “Mahidol Friends Project”
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ในการดำเนินโครงการโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น)
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนและองค์กรท้องถิ่นโดยเน้นที่ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    MAHIDOL CHANNEL
    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการจัดทำสื่อรูปแบบใหม่ที่เป็น “ความกลมกลืนในความหลากหลาย“ รวมความรู้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ โดยการนำ “Education” (การศึกษา) มาผสมผสานกับ “Entertainment” (ความบันเทิง) ถ่ายทอด เป็นรายการที่หลากหลาย สร้างสรรค์ ได้สาระ และความบันเทิง เพื่อประโยชน์ต่อผู้ชมและสังคม
  • thumb
    16 05 10
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมทัศนศึกษาของนักศึกษาโครงการ APMA และ MAHR
    นักศึกษาจากโปรแกรม APMA และ MAHR เดินทางไปศึกษานอกสถานที่ระหว่างวันที่ 14 และ 19มกราคม 2563 เพื่อเรียนรู้การพัฒนาและสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มเสี่ยง ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้คนจากองค์กรต่างๆ
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    THE MUIC EXECUTIVE EDUCATION
    วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดให้มี “MUIC Executive Education ”
จำนวนทั้งหมด 17 รายการ