No Poverty

ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการให้โอกาสนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบุตรคนแรกของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ให้สามารถเรียนจนจบการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดลและมีโอกาสทำงานในองค์กรที่มั่นคง สามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไปได้ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ประจำปีการศึกษา 2564 กว่า 332 ทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 16,600,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทุนการศึกษาต่อเนื่องสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป อัตราทุนละ 50,000 บาท ต่อปีการศึกษา จำนวน 48 ทุน ทุนการศึกษารายปี สำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี อัตราทุนละ 50,000 ต่อปีการศึกษา จำนวน 284 ทุน และยังมีทุนประเภทอื่น ๆ ให้แก่นักศึกษา เช่น ทุนสนับสนุนการศึกษา ทุนช่วยเหลือและสนับสนุนกรณีพิเศษ ทุนสวัสดิการ เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอย่างครอบคลุมทุกวิทยาเขต และทางมหาวิทยาลัยยังมีสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ทุนอาหารกลางวัน หอพักราคาถูก รถรางรับ-ส่ง รวมทั้งมีบริการด้านการรักษาพยาบาลครอบคลุม ทั้งการรักษาโรคทั่วไป ทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางทันตกรรม ให้กับนักศึกษาทุกคน ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของบุตรให้แก่ผู้ปกครอง และสำหรับนักศึกษาที่ต้องการหารายได้เสริมในเวลาว่างนั้น ทางมหาวิทยาลัยก็มีทุนนักศึกษาช่วยงาน โดยให้ค่าจ้างชั่วโมงละ 40 บาท หรือ วันละ 300 บาท ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้ในระดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยมหิดลยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป็นต้นเหตุ ของความยากจน จึงได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้สิน ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ด้านการเกษตรผ่านโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up, Early Stage เพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการของเกษตรกร และการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดลก่อให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภค นอกจากการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความยากจนภายในมหาวิทยาลัย และในระดับชุมชนแล้ว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลยังมีส่วนให้ความช่วยเหลือนักศึกษาจากประเทศรายได้น้อย ดังเช่น การเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดำเนินการช่วยเหลือทางด้านทุนการศึกษาแก่นักศึกษา จากราชอาณาจักรกัมพูชาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 29 คน ให้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 - 2564

Highlights
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    04 01 17
    26 ส.ค. 2565
    โครงการการสนับสนุนความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
    ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โดยสนับสนุนการค้นหา คัดกรอง ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในกลุ่มครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    01 17
    25 ต.ค. 2565
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริ
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ถือกำเนิดจากพระราชปณิธาณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เยาวชนกัมพูชา
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง (Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  • thumb
    05 01 04
    24 ก.ค. 2565
    การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีและเสริมสร้างภาวะผู้นำของสตรีข้ามเพศในภาคธุรกิจ (Capacity Building for Female Entrepreneurs and Leadership Learning Program for Transwomen in Business Organizations)
    โครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนาควาสมเป็นผู้นำองค์กร และ ทักษะในการประกอบการยุคใหม่ทั้งดิจิตัลเทตโนโลยี การบริหารองค์กร และ การจัดการทรัพยากรเพื่อผู้ประกอบการสตรี และ ผู้นำสตรีข้ามเพศ
  • thumb
    04 01 03
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการติดตามและประเมินผลการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
    เด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยของการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ต่อไปของชีวิต พบว่ามีเด็กปฐมวัยจำนวนมากที่ขาดการดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กกลุ่มหนึ่งขาดโอกาสที่จะได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ การศึกษาสถานการณ์เด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเปราะบางในกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในการดูแลเด็กกลุ่มดังกล่าว ใช้เป็นข้อมูลการพัฒนาการดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางให้พร้อมเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาต่อไป
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    01 02
    10 มี.ค. 2565
    การขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ
    พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    01 02
    11 มี.ค. 2565
    โครงการ 10 ทักษะความปลอดภัย ก่อน 10 ปี ต้องมี 10 อย่าง : Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง
    ปัจจุบันนับว่าเด็กไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายอยู่ตลอดเวลา จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีเด็กๆ ต้องเสียชีวิตจากอุบัติภัย มากกว่า 3,000 ราย ต่อปี และถือเป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของการเสียชีวิตในเด็ก เป็นภัยร้ายใกล้ๆตัวที่เกิดขึ้นได้แม้เพียงเสี้ยววินาที การมีทักษะด้านความปลอดภัยถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่เราต้องช่วยกันปลูกฝังให้กับเด็กๆอีกด้วย
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    แปลงผักปลอดสารพิษ
    แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่อยากให้มีการบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดสรรพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ และให้เกษตรกรในพื้นที่เข้ามาดำเนินการปรับปรุงดินและปลูกผักปลอดสารพิษจนถึงปัจจุบัน