Gender Equality

บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน

ความเท่าเทียมทางเพศไม่ใช่เพียงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แต่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเพื่อการพัฒนายั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมทางวิชาการ การวิจัย และโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาททางสังคมของสตรี และเด็กผู้หญิง การส่งเสริมสุขภาวะ และการอยู่ภายใต้ความรุนแรงของบุคลากรมหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษา และชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดลยังให้ความสำคัญกับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในมหาวิทยาลัย โดยต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติทางเพศเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาหรือทำงาน รวมทั้งโอกาสในการศึกษาต่อและการเติบโตในหน้าที่การงานต่อไปอย่างเท่าเทียมโดยใช้เกณฑ์หลักความสามารถ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ.2562 เป็นองค์กรที่เน้นการใช้แนวความคิดเชิงบูรณาการ โดยเฉพาะการใช้ฐานคิดทางด้านเพศภาวะ เพศวิถีในการศึกษาวิจัยประเด็นสุขภาพ เพื่อทำให้สังคมบรรลุถึงสุขภาพ สิทธิทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ ความเสมอภาค และความเป็นธรรม มีการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายของนักวิชาการ นักศึกษาประชาสังคมในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ เพื่อสร้างความรู้และนำเสนอปัญหาสุขภาพ สิทธิทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ ความไม่เป็นธรรมและไม่เสมอภาคทางเพศ มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็กและสตรีเท่านั้น แต่รวมไปถึงเพศทางเลือก ซึ่งมีการประกาศมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาสามารถแต่งกายตามเพศสภาพที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด ในเวลาที่มีการเรียนการสอน รวมไปถึงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 การดำเนินการดังกล่าวเป็นการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนส่งเสริมให้มีความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพตัวเองในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีการขยายและจัดสรรพื้นที่ในสถานศึกษาให้มีห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-Gender Restroom) เพิ่มเติม ณ หอพักนักศึกษา ชั้นที่ 1 ของทุกหอพัก โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เพื่อเป็นต้นแบบห้องน้ำทางเลือก ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงห้องน้ำที่ปลอดภัย ถูกสุขภาวะ และเป็นการเคารพคุณค่าและสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม

Highlights
  • thumb
    06 05
    11 มี.ค. 2565
    WATER EFFICIENT APPLIANCES
    Mahidol University has announced the eco-university for sustainable development policy to encourage people in the university participate to reduce water consumption and encourage sustainable water management according to Sustainable Development Goals, Clean Water and Sanitation (SDG6). Therefore, all faculties within the university have to maintain the existing appliances to be effective, choose high efficiency appliances and focus on saving water as well as measures to save water.
  • thumb
    05 10
    11 มี.ค. 2565
    ถอดบทเรียนการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย
    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการสัมมนาถอดบทเรียนการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย
  • thumb
    16 05 10
    11 มี.ค. 2565
    การศึกษาระดับโลกแห่งสหประชาชาติเรื่องเด็กที่ขาดเสรีภาพ
    สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Global Campus of Human Rights และ Right Livelihood Foundation จัดเวทีอภิปรายเรื่อง “การนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่วาระแห่งชาติ: การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก”
  • thumb
    16 03 05
    4 มี.ค. 2565
    เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นําถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    คลินิกวัยทีน
    มหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งคลินิกวัยทีน เพื่อเปิดให้บริการแก่วัยรุ่นและครอบครัว รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในด้านการเรียน ความสัมพันธ์ การปรับตัว อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีทักษะชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยบริการ ตรวจวินิจฉัย ประเมิน ให้คำปรึกษา ส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากด้านร่างกาย จิตใจ สังคมของวัยรุ่น ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ความร่วมมือกับกองกิจการนักศึกษา ผ่านโครงการ “Mahidol Friends Project”
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    จักก้าเซ็นเตอร์
    มหาวิทยาลัยมหิดลมีจักรยานสาธารณะของมหาวิทยาลัยเตรียมไว้บริการแก่นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ ซึ่งทุกคนเรียกว่า “White JAKKA” โดยชาวมหิดลสามารถใช้จักรยานสีขาวได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ยานพาหนะที่ไม่ก่อมลพิษภายในมหาวิทยาลัย โดยในปี 2554 ได้ก่อตั้ง “จักก้าเซ็นเตอร์” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการยืม/คืนจักรยาน รวมทั้งบริการซ่อมจักรยาน
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ในการดำเนินโครงการโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น)
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนและองค์กรท้องถิ่นโดยเน้นที่ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
  • thumb
    16 05 10
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมทัศนศึกษาของนักศึกษาโครงการ APMA และ MAHR
    นักศึกษาจากโปรแกรม APMA และ MAHR เดินทางไปศึกษานอกสถานที่ระหว่างวันที่ 14 และ 19มกราคม 2563 เพื่อเรียนรู้การพัฒนาและสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มเสี่ยง ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้คนจากองค์กรต่างๆ
จำนวนทั้งหมด 14 รายการ