Decent work and Economic Growth

ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืนการจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพและการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับในการผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ และยังผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงความเป็นอยู่ของบุคลากรโดยสนับสนุนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ครอบคลุมในทุกด้าน เช่น การรักษาพยาบาล การได้รับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย สำหรับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มหาวิทยาลัยสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยแบ่งเป็น สายวิชาการ (อาจารย์และนักวิจัย) สามารถเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ เช่น นักวิจัยระดับ 1-4 ศาสตราจารย์วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ และสายสนับสนุน (พนักงานมหาวิทยาลัย) สามารถเลื่อนตำแหน่งสายสนับสนุน เช่น ชำนาญงาน ชำนาญการ เชี่ยวชาญ ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ มีการสนับสนุนสวัสดิการด้านการเงิน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยมหิดลและเงินช่วยเหลือต่าง ๆ มีนโยบายการเลื่อนเงินเดือนที่เป็นธรรม จากการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้ง/ปี ในทุกระดับ โดยยึดตามคุณภาพงานและใช้หลักธรรมาภิบาลครอบคลุมทุกกระบวนการ บทบาทของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคมในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านการสร้างทักษะแก่ร้านค้าหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ส่งผลให้อัตราการตกงานเพิ่มขึ้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดการฝึกอบรมระยะสั้นรูปแบบออนไลน์เพื่อ Upskill Reskill เกี่ยวกับการค้าขายออนไลน์และการสร้างอาชีพในรูปแบบใหม่ให้กับประชาชนทั่วไป เช่น การสร้างแบรนด์ขั้นพื้นฐาน การระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจผู้สูงวัย การจัดการท่องเที่ยว และการบริการในยุค 4.0 เป็นต้น ทำให้เกิดช่องทางธุรกิจออนไลน์เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

Highlights
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    14 03 08
    18 ต.ค. 2565
    การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
    โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจะจัดให้มีการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลในพื้นที่นำร่องในปีต่อไป
  • thumb
    16 08
    31 ส.ค. 2565
    สื่อสร้างสรรค์ป้องกันการค้ามนุษย์ในเด็ก
    ทีมวิจัยของเราได้ผลิตเครื่องมือการสอนต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการค้าเด็ก เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนรวมถึงนักเรียนข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกันในสิทธิมนุษยชน ดังนั้น พวกเขาจึงควรได้รับการปกป้องจากการแสวงประโยชน์จากมนุษย์ในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ชาติกำเนิด ชาติพันธุ์หรือสังคม ความเห็นทางการเมืองหรืออื่นใด ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ของผู้ปกครองหรือผู้ปกครอง
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”
    วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน
  • thumb
    02 08
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "การพัฒนามันสำปะหลังสายพันธ์ พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต