มาตรฐาน MU Organic

detail

มาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์

มาตรฐาน MU Organic

สืบเนื่องจากผลของการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ในช่วงปี 2559 และทำให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้ผลผลิตของเครือข่ายมีมาตรฐานเดียวกัน  และสามามารถทำการตลาดได้ง่ายขึ้น คลายความกังวลใจ  ลดข้อสงสัย  และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  ผลผลิตของเครือข่ายจำหน่ายหมดในเวลาอันรวดเร็ว  และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในระยะยาว  เครือข่ายสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ร่วมกันในการบริหารจัดการกลุ่มของตนเอง จากแนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งตามมา  และเครือข่ายได้มีการวางแนวทางการพัฒนาเครือข่าย มีการจัดประชุมเพื่อทบทวนเป้าหมายการพัฒนาของเครือข่าย ในปี 2562 โดยเครือข่ายได้เสนอแนะแนวทางการยกระดับมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เป็น มาตรฐาน MU Organic เพื่อให้เกิดการรับรองการผลิตที่ครอบคลุม และหลากหลายชนิดพืช เพิ่มขึ้น เพราะเนื่องจากสมาชิกเครือข่าย ไม่ได้ผลิตข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้มีการปลูกผัก และผลไม้เพิ่มขึ้นมาและจำหน่ายทำตลาดควบคู่กับข้าวอินทรีย์  และได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดผู้บริโภค

Partners/Stakeholders
  • เครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
  • สภาเกษตรกร
  • สำนักงานเกษตรและสหกรณ์
  • ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย 10 แห่ง
  • เครือข่ายผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์

ผู้ดำเนินการหลัก
ผศ.นิวัต อุณฑพันธุ์
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
-