Education for Sustainability
Mahidol Sustainable University
Education for Sustainability
Research and Innovation
for Sustainability
Mahidol Sustainable University
Research and Innovation <br> for Sustainability
Operations for Sustainability
Mahidol Sustainable University
Operations for Sustainability
Highlights
การพัฒนาทุนมนุษย์
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะ “ยุติความยากจนและความโหยในทุกรูปแบบและทุกมิติ พร้อมมุ่งมั่นสร้างหลักประกันว่ามนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพของตนในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมภายใต้สภาพความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ” แน่นอนว่าเราต้องพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในสังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ
pic2-20220906-1654758329-247.jpg
03
9 มิ.ย. 2565
โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone project)
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยากร และเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังคงพบรายงานการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในคนและในสัตว์ ด้วยเหตุนี้ปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป เพื่อร่วมขจัดปัญหาข้างต้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ จัดโครงการการสร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขขึ้นมา โดยมีกิจกรรมการณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข พร้อมกับมีการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด ในพื้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557
pic-20220903-1646817457-719.jpg
03
9 มี.ค. 2565
การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ความเสี่ยงของการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 1.1 ของคู่แต่งงานของประชากรทั้งโลก หรือ 2.7 คน ใน 1,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้มีผู้ป่วยเกิดใหม่ลดลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงระหว่างปีพ.ศ 2560-2564 ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียได้ให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครปฐมจำนวน 129 ราย และได้ให้คำแนะนำเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 โรค ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการควบคุมและป้องกัน อีกจำนวน 49 ราย ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียของครอบครัวและกระทรวงสาธารณสุขได้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และเป็นแนวทางสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป
pic-20221003-1646902470-726.jpg
03
10 มี.ค. 2565
การอบรมวิชาการคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียก็มีได้ และการให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย
โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
pic-20221003-1646902302-520.png
02
10 มี.ค. 2565
มาตรฐาน MU Organic
เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
pic-20221103-1646975272-835-125.jpg
01
10 มี.ค. 2565
การขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ
พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร
pic-20221003-1646903247-644.jpg
03
10 มี.ค. 2565
การศึกษาวิจัยแบบพหุสาขา เพื่อหาเครื่องมือใหม่ และมาตรการการกำจัดไข้มาลาเรียจากประเทศไทย
ไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อนำโดยยุงก้นปล่อง เคยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศไทย เคยมีผู้ป่วยถึง เกือบ500,000คนช่วงปีพ.ศ.2524 โดยมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 5%
pic-20221003-1646902834-499.jpg
03
10 มี.ค. 2565
รถ Mobile Stroke Unit
MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
pic-20221103-1646987039-748-184.jpg
05
11 มี.ค. 2565
ถอดบทเรียนการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการสัมมนาถอดบทเรียนการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย
pic-20221103-1646984210-257.jpg
03
11 มี.ค. 2565
การบริการสุขภาพสู่ชุมชน
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดให้มีการบริการกับประชาชนในกลุ่มติดเตียง กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดสังคม รอบมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประจำทุกเดือน ในชุมชนหมู่บ้านสหพร ชุมชนคลองโยง และชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ในปี 2561 ได้ขยายการให้บริการเพิ่มเติมไปยังชุมชนนราภิรมย์ โดยมีประเภทการให้บริการ
pic-20221103-1646984048-882.jpg
03
11 มี.ค. 2565
คลินิกวัยทีน
มหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งคลินิกวัยทีน เพื่อเปิดให้บริการแก่วัยรุ่นและครอบครัว รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในด้านการเรียน ความสัมพันธ์ การปรับตัว อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาไปสู่วัยผู้ใหญ่ที่มีทักษะชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยบริการ ตรวจวินิจฉัย ประเมิน ให้คำปรึกษา ส่งเสริม บำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากด้านร่างกาย จิตใจ สังคมของวัยรุ่น ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับวัยรุ่นในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ความร่วมมือกับกองกิจการนักศึกษา ผ่านโครงการ “Mahidol Friends Project”
pic-20221103-1646983907-675.jpg
03
11 มี.ค. 2565
โครงการส่งเสริมความรู้ในผู้สูงอายุ
งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดกิจกรรมการบรรยายโครงการส่งเสริมความรู้ในผู้สูงอายุ ปี 2561 โดยบุคลากร ผู้ป่วย ญาติ และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังบรรยายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
pic-20221103-1646983743-708.png
03
11 มี.ค. 2565
ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
งานวิจัยเรื่อง “ประเทศไทย, ประเทศปลอดไขมันทรานส์” ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าความเข้มข้นของกรดไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ สูงกว่าค่ามาตรฐาน WHO (> 0.5 กรัม / มื้อ) เพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
pic-20221103-1646970703-198.jpg
03
11 มี.ค. 2565
การประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพในประเทศไทย (TAPHIA)
การดำเนินงานของโครงการวิจัย (TAPHIA) จะเริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ ข้อมูลประชากร รวมไปถึงสถิติการการเจ็บป่วยและการตาย นอกจากนี้เราจะเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ
pic-20221103-1646970320-585.jpg
04
11 มี.ค. 2565
การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข
สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master Management in Health)
pic-20221103-1646970019-227.jpg
04
11 มี.ค. 2565
โรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการอบรมระยะสั้นประมาณ 3 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหารงานโรงพยาบาลที่สนใจได้เข้ารับการอบรมมากขึ้น
pic-20221103-1646969607-258.jpg
03
11 มี.ค. 2565
สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ
“อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” หรือ “สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ” เป็นศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บนพื้นที่กว่า 140 ไร่ บนพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
pic-20221103-1646968433-994-153.jpg
03
11 มี.ค. 2565
บางกอกน้อยโมเดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการบางกอกน้อยโมเดล โดยโรงพยาบาลศิริราชร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่รอบโรงพยาบาล
pic-20221103-1646965565-751.jpg
03
11 มี.ค. 2565
การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ เพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนและองค์กรท้องถิ่นโดยเน้นที่ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข
pic-20221103-1646965074-386.jpg
01
11 มี.ค. 2565
ขจัดความยากจน
มหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนด้านทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี หรือมีเหตุฉุกเฉิน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา โดยมีแหล่งทุนการศึกษาต่างๆ
pic-20221103-1646964697-591.jpg
01
11 มี.ค. 2565
โครงการ 10 ทักษะความปลอดภัย ก่อน 10 ปี ต้องมี 10 อย่าง : Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง
ปัจจุบันนับว่าเด็กไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายอยู่ตลอดเวลา จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีเด็กๆ ต้องเสียชีวิตจากอุบัติภัย มากกว่า 3,000 ราย ต่อปี และถือเป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของการเสียชีวิตในเด็ก เป็นภัยร้ายใกล้ๆตัวที่เกิดขึ้นได้แม้เพียงเสี้ยววินาที การมีทักษะด้านความปลอดภัยถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่เราต้องช่วยกันปลูกฝังให้กับเด็กๆอีกด้วย
pic-20221003-1646905846-242.jpg
03
10 มี.ค. 2565
โครงการวิจัยและติดตามกลุ่มนักมวยเด็ก
งานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยและติดตามกลุ่มนักมวยเด็ก” โดยศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยัลยมหิดล พบว่า IQ ของนักมวยเด็กต่ำกว่าเด็กทั่วไปประมาณ 10 คะแนน
pic-20221003-1646903419-723.png
03
10 มี.ค. 2565
NATURAL DISASTERS MANAGEMENT
วัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และหลักปฏิบัติที่ดีของไทยในสาขาการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Highlights
เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมุ่งมั่นที่จะสร้างหลักประกันให้มนุษย์ทุกคนสามารถมีชีวิตที่มั่งคั่งและเติมเต็มชีวิตได้ด้วยความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติความไม่เท่าเทียมเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
pic-20221403-1647248609-272-124.png
08
10 มี.ค. 2565
กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
เกิดจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
pic-20221403-1647251828-938-163.jpg
11
11 มี.ค. 2565
วิถีจักรยาน
มหาวิทยาลัยต้องการที่จะลดการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ และส่งเสริมการปั่นจักรยานเพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ปั่นจักรยานภายในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น จึงได้จัดสภาพแวดล้อมที่จูงใจและสะดวกต่อการขี่จักรยานให้เพิ่มมากขึ้น
pic-20221103-1646972377-623.jpg
11
11 มี.ค. 2565
จักก้าเซ็นเตอร์
มหาวิทยาลัยมหิดลมีจักรยานสาธารณะของมหาวิทยาลัยเตรียมไว้บริการแก่นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ ซึ่งทุกคนเรียกว่า “White JAKKA” โดยชาวมหิดลสามารถใช้จักรยานสีขาวได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ยานพาหนะที่ไม่ก่อมลพิษภายในมหาวิทยาลัย โดยในปี 2554 ได้ก่อตั้ง “จักก้าเซ็นเตอร์” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการยืม/คืนจักรยาน รวมทั้งบริการซ่อมจักรยาน
pic-20221103-1646967027-184.jpg
10
11 มี.ค. 2565
ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
pic-20221103-1646966627-999.png
10
11 มี.ค. 2565
สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส
มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ในการดำเนินโครงการโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น)
pic-20221103-1646967036-546-149.png
11
11 มี.ค. 2565
โครงการศิริราชเพื่อสังคม ศูนย์อาสาสมัครศิริราช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม ที่ต้องเกิดการปลูกฝังความรู้สึกของการเป็นผู้ให้ ไปยังบุคลากรภายในและคนในสังคม จึงจัดตั้ง “ศูนย์อาสาสมัครศิริราช”
pic-20221003-1646906562-819.jpg
08
10 มี.ค. 2565
THINK CYCLE BANK
Think Cycle Bank” เป็นโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท พีทีทีโกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) และโรงเรียนในจังหวัดระยอง ในปี 2561 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพมหาวิทยาลัย
pic-20221003-1646905340-411.jpg
07
10 มี.ค. 2565
โครงการรากแก้ว
มูลนิธิรากแก้วได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวครอบคลุมเรื่องการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาและคณาจารย์
pic-20221103-1646978141-206-133.png
11
10 มี.ค. 2565
MAHIDOL ENGAGEMENT
มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริงของชุมชนหรือสังคมในพื้นที่โดยรอบ ด้วยการการทำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ในลักษณะเชิงสถาบัน ที่เป็นหุ้นส่วนระยะยาว (long-term partnership)
pic-20221003-1646903845-798.png
08
10 มี.ค. 2565
MUMT Quality
โครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัย : การตรวจรับรองเกษตรและอาหารปลอดภัย จากสารตกค้างยาฆ่าแมลงในกลุ่มภาคกลาง” โดยได้ดำเนินการวางแผนดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
Highlights
การปกป้องโลก
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องโลกจากความเสื่อมโทรม ด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เพื่อรองรับความต้องการของคนในยุคปัจจุบันและอนาคต”
pic-20221103-1646988386-468.jpg
15
11 มี.ค. 2565
Land Use Development
The development concepts according to the Landscape Master Plan 2008 will establish Mahidol University to the university of dreams, there are a conducive learning environment, physical characteristics that respond harmoniously to social and environmental conditions. The university are like a second home and the spiritual center of all Mahidol people. Physical, social and environmental components are an important element to create “A Promise Place to Live and Learn Together with Nature”
pic-20221103-1646987561-348.jpg
06
11 มี.ค. 2565
WATER EFFICIENT APPLIANCES
Mahidol University has announced the eco-university for sustainable development policy to encourage people in the university participate to reduce water consumption and encourage sustainable water management according to Sustainable Development Goals, Clean Water and Sanitation (SDG6). Therefore, all faculties within the university have to maintain the existing appliances to be effective, choose high efficiency appliances and focus on saving water as well as measures to save water.
pic-20221403-1647249960-265-154.jpg
12
11 มี.ค. 2565
ธนาคารขยะรีไซเคิล
มหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญและต้องการความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานในการร่วมรณรงค์เพื่อลดภาระให้กับสังคมและโลก จึงได้จัดตั้งโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นในปี 2553
pic-20221003-1646907382-471.jpg
14
10 มี.ค. 2565
ร่วมปกป้องระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล
IUCN เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก ในเอเชียเราทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายจากภาคต่าง ๆ เพื่อส่งมอบโครงการระดับโลกขององค์กรในโครงการริเริ่มที่ชี้นำโดยวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมของสหภาพโครงการของ IUCN
pic-20221003-1646905622-493.jpg
15
10 มี.ค. 2565
การศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
โครงการ “การศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเมืองศาลายา จังหวัดนครปฐม” โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
pic-20221103-1646977592-290-131.jpg
15
10 มี.ค. 2565
แปลงผักปลอดสารพิษ
แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้น ตั้งแต่ ปี 2551 ด้วยแนวคิดที่อยากให้มีแปลงผักที่ไม่ใช้สารเคมี ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้โดยคัดเลือกเกษตรกรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ให้เข้ามาดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ 4 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้พร้อมในการปลูกผักปลอดสารพิษ
Highlights
สันติภาพ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่สันติและยุติธรรมสำหรับทุกคน และสังคมที่เป็นอิสระจากความกลัวและความรุนแรง เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากสันติภาพ และสันติภาพก็เกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
pic-20221103-1646986845-482-183.jpg
16
11 มี.ค. 2565
การศึกษาระดับโลกแห่งสหประชาชาติเรื่องเด็กที่ขาดเสรีภาพ
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Global Campus of Human Rights และ Right Livelihood Foundation จัดเวทีอภิปรายเรื่อง “การนำข้อเสนอแนะจาก the UN Global Study on Children Deprived of Liberty ไปสู่วาระแห่งชาติ: การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก”
pic-20221403-1647249485-827-144.png
16
10 มี.ค. 2565
MAHIDOL CHANNEL
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการจัดทำสื่อรูปแบบใหม่ที่เป็น “ความกลมกลืนในความหลากหลาย“ รวมความรู้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ โดยการนำ “Education” (การศึกษา) มาผสมผสานกับ “Entertainment” (ความบันเทิง) ถ่ายทอด เป็นรายการที่หลากหลาย สร้างสรรค์ ได้สาระ และความบันเทิง เพื่อประโยชน์ต่อผู้ชมและสังคม
pic-20221003-1646907600-495.jpg
16
10 มี.ค. 2565
กิจกรรมทัศนศึกษาของนักศึกษาโครงการ APMA และ MAHR
นักศึกษาจากโปรแกรม APMA และ MAHR เดินทางไปศึกษานอกสถานที่ระหว่างวันที่ 14 และ 19มกราคม 2563 เพื่อเรียนรู้การพัฒนาและสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มเสี่ยง ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้คนจากองค์กรต่างๆ
pic-20221403-1647250071-587-142.jpg
16
10 มี.ค. 2565
THE MUIC EXECUTIVE EDUCATION
วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดให้มี “MUIC Executive Education ”
pic-20221003-1646907205-685.jpg
16
10 มี.ค. 2565
Lecturer Workshop on Teaching Human Rights
Since 2017, the Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University, as a convener of the Human Rights Education theme of the ASEAN University Network (AUN-HRE), and the SHAPE-SEA Program have been co-organizing annual Regional Lecturer Workshops for university lecturers from ASEAN countries with an aim to strengthen knowledge and capacity for academics and government personnel in international human rights laws.
16
10 มี.ค. 2565
การจัดตั้ง “กลุ่มถักทอสันติภาพ: กทส.”
โครงการนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ในช่วงที่ชาวพุทธเริ่มมีความไม่พอใจกับการแก้ปัญหาของภาครัฐ และเริ่มมีการประท้วงเป็นระยะๆ ในพื้นที่ รวมทั้งชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ยังมีจุดยืนและความต้องการหลากหลายไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มได้ โครงการจัดตั้งสถาบันฯ จึงได้เชิญชวนชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้ รวมตัวกันเป็น “กลุ่มถักทอสันติภาพ: กทส.” หรือ “Weaving Peace Together: WPT”
Highlights
การเสริมสร้างความร่วมมือ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง "จิตวิญญาณแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้ยากไร้และกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกประเทศ ทุกภาคส่วน และทุกคน"
pic-20221403-1647250910-129-123.jpg
17
10 มี.ค. 2565
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ปัจจุบัน การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ จากการที่องค์การสหประชาชาติกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย
pic-20221103-1646970481-207.png
17
11 มี.ค. 2565
THE PRINCE MAHIDOL AWARD CONFERENCE (PMAC) 2018
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯในพระบรม ราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์กรภาคีในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ร่วมกันจัดการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประจำปี 2561
pic-20221103-1646968946-899.jpg
17
11 มี.ค. 2565
GLOBAL HEALTH CONFERENCE
ลุ่มภารกิจสุขภาพโลกมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Global Health – MUGH) จัดการประชุมเสวนาวิชาการเรื่อง “อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพโลกตามกรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563”
pic-20221003-1646906813-289.jpg
17
10 มี.ค. 2565
MAHIDOL ECO TOWN
ในฐานะสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์จากการดำเนินโครงการไปสู่ชุมชน เนื่องจากความสำเร็จของการพัฒนากลยุทธ์โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งโครงการขึ้นที่โรงเรียน 6 แห่ง ในจังกวัดนครปฐม เ
Sustainability Strategy
img
img
มหาวิทยาลัยมหิดลให้พันธสัญญาที่จะดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านการวิจัยและนวัตกรรม การศึกษา และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
Mahidol
Sustainable University
ศูนย์
หอสมุดและคลังความรู้
สำนักงานอธิการบดี